รีวิว Four Thousand Weeks: Time Management for Mortals เปิดปีด้วยการอ่าน Four Thousand Weeks ถือเป็นการเริ่มศักราชการอ่านหนังสือที่ดีเยี่ยม เป็นอีกเล่มที่สมคำร่ำลือ ดีระดับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลกและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างแท้จริง Four Thousand Weeks คือ หนังสือสำหรับคนที่อยากมีความสัมพันธ์ที่เฮลตี้กับเวลามากขึ้น อยากมี better relationship กับเวลา ใครที่เผลอติดโรคยุ่งจนรู้สึกไม่เคยมีเวลาเพียงพอ หนังสือที่เจอกันครึ่งทางระหว่างปรัชญาและ self-help เล่มนี้อาจจะช่วยให้ฉุกคิดอะไรได้หลายอย่าง เหมือนกับที่ชวนเราฉุกคิดอะไรหลายอย่าง •…

>> “ค้นหาตัวเองให้เจอ” is out “รู้จักตัวเองในสถานการณ์ต่างๆ” is in ไปดูละครเวทีเรื่อง Nowhereland แล้วช่วง Post Talk มีนักจิตบำบัดเล่าว่า เด็กๆ วัยรุ่นที่มาพบทนทุกข์จากการต้องค้นหาตัวเองให้เจอเยอะมาก เพราะไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรหรือมี passion กับอะไร ซึ่งเราว่าความทนทุกข์แบบหมู่มวล และการเข้าถึงการบำบัดสุขภาพจิตที่มากขึ้นจะทำให้เทรนด์นี้เปลี่ยนไป อนาคตเราจะพูดประโยคนี้กันน้อยลง เพราะเราเริ่มเข้าใจกันมากขึ้นว่าตัวเราไม่ใช่สิ่ง static ที่ “อยู่ตรงนั้น” ให้เราไปค้นหาได้ เราเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ ตามเรื่องที่เข้ามาในชีวิต และ พอเปลี่ยนตามเรื่องที่เข้ามาในชีวิต…

“ราขึ้นดวงอาทิตย์ โลกเลยจะย้อนกลับสู่ยุค Ice Age มนุษย์เลยต้องไปอวกาศแก้ปัญหา” นี่เป็นเรื่องย่อแบบสั้นสุดๆ ของนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ Project Hail Mary เขียนโดย Andy Weir (คนแต่งเดียวกับ The Martian ที่เคยทำเป็นหนังเมื่อปี 2015) ความรู้สึกหลังอ่านไปประมาณ 50 หน้าคือ “มันเนิร์ดสะใจฉิบหาย” อ่านไปแล้วก็แบบอะไรมันจะเนิร์ดวิทยาศาสตร์ขนาดนี้ ว้าวมาก (น่าจะยิ่งโดยเฉพาะคนที่ไม่มี scientific training แบบเรา) โคดประทับใจ 200…

ล่ามงาน Symposium on Science Festival 2022 แล้วเจอคอนเซ็ปต์หนึ่งที่น่าสนใจมากเรียกว่า “citizen science” หรือ “วิทยาศาสตร์พลเมือง” แนวคิดนี้ต้องการให้ คนทั่วไป ที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์หรืออาจารย์มหาวิทยาลัย เข้ามามีส่วนร่วมในงานวิจัยวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีวิทยากรคนหนึ่งยกตัวอย่างจับต้องได้จนค่อนข้างว้าว จาก พิพิธภัณฑ์ Hong Kong Biodiversity Museum ในฮ่องกง Dr. Benoit Guenard เป็น myrmecologist หรือ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษามดโดยเฉพาะ…

“ปริศนา” ประพันธ์โดย ว. ณ ประมวญมารค เป็นหนึ่งในนิยายรักคลาสสิคของไทยระหว่างราชนิกูลหนุ่มกับสาวนักเรียนนอกในปี 2495 ถูกนำไปสร้างเป็นละครทีวีหลายต่อหลายครั้ง ส่วนตัว เวอร์ชั่นที่ประทับใจมากที่สุดคือ ติ๊ก เจษฎากรณ์ กับ เทย่า โรเจอร์ ปริศนาเป็นหนึ่งในนิยายที่อ่านซ้ำหลายรอบ ในชีวิตนี้น่าจะอย่างน้อย 4 ครั้งแล้ว แต่ละครั้งอ่านต่างช่วงวัย อย่างครั้งนี้กับครั้งก่อนคาดว่าห่างกันประมาณ 10 ปี อ่านแต่ละรอบได้อะไรที่ต่างกันออกไปมาก ตอนเด็กๆ อ่านเอาความโรแมนติก รอบนี้อ่านเอาสนุก เพราะนึกอยากอ่านนิยายที่เขียนสนุกแบบวางไม่ลงก็นึกถึงเล่มนี้ อ่านรอบนี้ในวัยนี้ ด้วยความเชื่อที่เปลี่ยนไปจากเก่าเจอเกร็ดน่าสนใจมากมายที่เมื่อก่อนไม่เคยสังเกตเห็น…

ก่อนอ่านเล่มนี้ สารภาพว่าไม่คุ้นกับการใช้คำว่า “bittersweet” เป็นคำแสดงคาแรกเตอร์คนเลย ที่เคยได้ยินมักเอาไว้ใช้บรรยายงานสร้างสรรค์ เช่น “หนังเรื่องนี้ bittersweet” “เพลงนี้ bittersweet จัง” ซึ่งนิยามแบบรวมๆ ได้ว่าเป็น “ความรู้สึกสุขปนเศร้าและเข้าใจชีวิต” ยกตัวอย่างเร็วๆ ซีรี่ย์เกาหลีอย่าง Reply 1988, Twenty Five Twenty One หรือหนังอย่าง The Curious Case of Benjamin Button หรือหนังสือ…

“ตั้งแต่แม่ตาย ฉันก็ร้องไห้ในซูเปอร์ H Mart ไม่หยุด…” Crying in H Mart เป็นหนังสือบันทึกความทรงจำ (memoir) ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกสาว คนเขียนชื่อ Michelle Zauner ลูกครึ่งเกาหลีอเมริกันนักร้องนำอินดี้ร็อคแบนด์วง Japanese Breakfast อยู่ที่อเมริกา หนังสือเล่มนี้สำรวจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนที่สุดในโลกรูปแบบหนึ่ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกสาว มิเชลบอกว่าตอนเด็กๆ ความรักของแม่เป็น “tougher than tough love” “โหดหินเสียยิ่งกว่ารักแบบโหดๆ” เมื่อเธอตกจากต้นไม้เป็นแผลร้องไห้…

ขนาดโชคชะตายังต้องอิจฉาเราเลย Serendipity เป็นเพลงเปิดอัลบั้ม Love Yourself: Her อัลบั้มที่ห้าของวง BTS เพลงนี้ยิ่งฟังยิ่งชอบ เหมือนที่เขาชอบพูดกันว่า “It grows on you” ฟังแล้วเพราะขึ้นเรื่อยๆ เพลงรักบัลลาดอ่อนหวานถ่อมตัวเต็มไปด้วยการเล่นคำ ขับร้องโดย Jimin แต่งโดย “hitman” bang, Ashton Foster, Ray Michael Djan Jr., RM, and Slow…

รีวิวหนังสือ (มั้ง) … เมื่อเวลาผ่านไปเราจำอะไรจากหนังสือได้บ้าง?? นี่คือซีรี่ย์หนังสือ A Little History of … ที่เราซื้ออ่านมาเรื่อยๆ จนตอนนี้มาถึงเล่มขาวมุมขวาล่าง “ประวัติศาสตร์อเมริกา” ที่พอเปิดอ่านไปสักพักก็ฉุกคิดขึ้นว่า “เอ๊ะ นี่กูจำอะไรจากซีรี่ย์นี้ได้บ้าง” เมื่อกลับไปยืนส่องที่ตู้จึงค้นพบว่า “เชี่ย จำอะไรไม่ได้เลย 55555555 ที่จำได้แทบไม่มีสาระของหนังสือเลย” จำได้แต่สิ่งที่เขาเรียกว่า peripheral details หรือ พวกรายละเอียดปกิณกะที่ไม่ใช่ใจความสำคัญ ต่อไปนี้คือสิ่งที่จำได้ A Little History…

Twenty Five, Twenty One เป็นหนึ่งในซีรี่ย์เกาหลีที่ชอบที่สุดในรอบหลายปี หลังดูจบเกิดความรู้สึกที่แม้แต่คลังศัพท์ในหัวก็บรรยายไม่ได้ ถึงขนาดต้องไปค้นหาว่าคนเรารู้สึกเศร้าแบบไหนได้บ้าง เจอคำหนึ่งที่คิดว่าใกล้เคียงที่สุด คือ “saudade” ซึ่งแปลว่าอารมณ์เศร้าหมองลึกของการถวิลหาบางอย่างหรือบางคนที่ไม่อาจครอบครอง เป็นความรู้สึกระหว่าง nostalgic, yearning และ homesickness ซีรี่ย์ก็ทำให้เรารู้สึกทำนองนั้น เศร้าแบบเข้าใจชีวิต ไม่ฟูมฟาย แต่ก็หม่น รู้ว่าสิ่งที่ผ่านไปแล้วจะไม่หวนกลับมาอีก Twenty Five, Twenty One มีองค์ประกอบและทำให้รู้สึกคล้ายตอนดู Reply 1988 ซึ่งเป็นซีรี่ย์ที่ยังยกให้อยู่ในใจตลอดกาลถึงวันนี้ นึกอิจฉาเกาหลีที่มีซีรีย์เล่าความรู้สึกและชีวิตของชนชั้นกลางในห้วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ละเอียด…