เงินไม่ใช่เงินจนกว่าจะมีคน (มากพอ) บอกว่ามันเป็นเงิน (2)
October 12, 2020
การใช้เหรียญก้อนเงินก้อนทองซื้อของในศตวรรษ 1600s ที่อังกฤษช่างยุ่งเหยิง เพื่อจะวัดว่าเหรียญไหนมีค่ามากมีค่าน้อยก็ต้องช่างน้ำหนักเอา ลองคิดดู เมื่อส่งก้อนเงินจ่ายค่าขนมปัง ช่างขนมปังอาจจะหัวใสแล้วพูดว่าฉันขูดเงินนี้ออกนิดนึงดีกว่า เก็บรวมๆ กันไว้จะได้หลอมเป็นก้อนเงินก้อนใหม่ ก่อนจะส่งเหรียญเงินก้อนเก่าให้พ่อค้าน้ำตาล พอพ่อค้าน้ำตาลได้ก้อนเงินไปก็รู้สึกว่าน้ำหนักมันไม่เท่าที่คุยกันไว้ก็ทะเลาะกัน มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าในช่วงปี 1600s แทบจะไม่มีใครซื้อของหรือทำมาค้าขายโดยไม่ทะเลาะกันเลย เนื่องจากโลหะเงินและโลหะทองมีจำกัด กว่าจะทำเหมืองขุดได้ก็นาน เงินที่ทำจากเงิน (silver) และทองมันไม่สามารถทำให้ทุกคนรวยขึ้นได้ เพราะเราไม่ได้มีเงินและทองพอสำหรับทุกคน การขาดเงินและทองจึงเป็นปรากฎการณ์ที่เห็นกันจนชินตาในอังกฤษปี 1600s สังคมติดเพดานการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อยู่ๆ ช่างทอง (goldsmith) ก็ปิ๊งนวัตกรรมสุดล้ำแห่งศตวรรษคล้ายกับที่พ่อค้าจีนในเสฉวนทำเมื่อหลายร้อยปีก่อน นวัตกรรมนี้กลายเป็นรากฐานการธนาคารมาจนถึงทุกวันนี้ เนื่องจากมีคนรวยเอาเงินกับทองมาฝากไว้กับช่างทอง แล้วช่างทองก็ให้ใบรับฝาก…