วิทยาศาสตร์พลเมือง

August 28, 2022

ล่ามงาน Symposium on Science Festival 2022 แล้วเจอคอนเซ็ปต์หนึ่งที่น่าสนใจมากเรียกว่า “citizen science” หรือ “วิทยาศาสตร์พลเมือง”

แนวคิดนี้ต้องการให้ คนทั่วไป ที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์หรืออาจารย์มหาวิทยาลัย เข้ามามีส่วนร่วมในงานวิจัยวิทยาศาสตร์มากขึ้น

มีวิทยากรคนหนึ่งยกตัวอย่างจับต้องได้จนค่อนข้างว้าว จาก พิพิธภัณฑ์ Hong Kong Biodiversity Museum ในฮ่องกง Dr. Benoit Guenard เป็น myrmecologist หรือ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษามดโดยเฉพาะ

Dr. Guenard เล่าให้ฟังว่าตั้งแต่ปี 1758 จนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลา 260 กว่าปี มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับมดลงบนคอมพิวเตอร์ทั้งหมดประมาณ 2 ล้านบันทึก ขณะที่ eBirds ซึ่งเก็บข้อมูลเกี่ยวกับนกได้ข้อมูลนกลงบนคอมพิวเตอร์ประมาณ 2 ล้านบันทึกภายในเวลาแค่ 8 วัน

เขาก็เลยตั้งคำถามว่า เอ๊ะ ทำไมวงการส่องมดมันไม่เฟื่องฟูเท่าวงการส่องนก?

มันต่างกันตรงไหน?

ทำไมวงการนกทำได้ใน 8 วัน ขณะที่วงการนกทำได้ใน 200 กว่าปี?

จุดที่ต่างกัน คือ วงการส่องนก มีคนส่องนกที่เป็นมือสมัครเล่นเยอะมากๆ ขณะที่วงการส่องมดไม่มี

ด้วยเหตุนี้ Dr. Guenard จึงนำแนวคิด “วิทยาศาสตร์พลเมือง” มาใช้เพื่อให้คนช่วยโปรเจกต์เขาส่องมดมากขึ้น

สิ่งที่ทำก็คือ เอาแนวคิดแบบเกม Pokemon Go มาผสม ทำแอนิเมชั่นให้คนไปจับมดตามที่ต่างๆ ประกาศรับอาสาสมัครผ่านพิพิธภัณฑ์ในฮ่องกง ปรากฎคนสมัครล้นหลานจนต้องรีบปิดรับภายในสองวัน

มีการส่งเซ็ตอุปกรณ์ (kit) จับมดออกไป 530 อัน แต่ได้คืนมาแค่เกือบครึ่ง นับอันที่ใช้ได้จริงมีประมาณ 158 อันหรือ 30%

แม้จะ error และข้อจำกัดหลายข้อ แต่มีข้อดีหลายอย่างมาก เช่น ได้พื้นที่การจับมดทั่วฮ่องกงที่กว้างมากๆ ชนิดที่ถ้าทีมทำกันเองไม่มีทางไปถึง (แต่ได้สปีชีย์ไม่เยอะ) และได้ความตื่นตัวจากคนมหาศาล จากที่ปกติคนไม่ค่อยส่องมด

ชอบไอเดียมากๆๆๆ รู้สึกว่ามันน่าจะประยุกต์ใช้กับศาสตร์อื่นๆ ที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ได้ด้วย ซึ่งเอาจริงๆ มันมีไอเดียคล้ายกันอยู่แหล่ะ เช่น อาสาสมัครไปเก็บข้อมูลนับคะแนนเลือกตั้ง คนเยอะเลยได้ข้อมูลมหาศาลในเวลารวดเร็ว ฟังแล้วก็คิดเล่นๆ ว่าอยากส่งคนไปเก็บอะไรมาสักอย่างแต่ไม่รู้จะให้เก็บอะไร 555

ใครสนใจฟังตัวจริงไปตามได้ที่เพจเฟสบุ๊คของพิพิธภัณฑ์องค์การวิทยาศาสตร์ NSM Thailand ได้ที่ลิงค์นี้ https://fb.watch/e_RqIM2mV3/

Leave a Reply:

Your email address will not be published. Required fields are marked *